Welcome

สวัสดี ทุกเวลาค่ะ

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การหมั้น


กฎมายเกี่ยวกับการหมั้น




การหมั้นกฎหมายไม่ได้ให้คำวิเคราะห์ศัพพท์ไว้ ศาลฎีกาได้ให้ความหมายของการหมั้นไว้ว่าการหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหยิงโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน สัญญาหมั้นจึงเป็นเพียงสัญญาจองกัยไว้ก่อนยังไม่ถึงขั้นแต่งงานกันเด็ดขาด แต่การสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะต้องมีการหมั้นกันก่อน จะทำการสมรสกันเลยทีเดียวก็ได้





สินสอด
มาตรา ๑๔๓๗ วรรคสาม ให้คำวิเคระห์ศัพท์คำว่า "สินสอด" ไว้ว่า สินสอด ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือ ไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ลักษณะของทรัพย์อันเป็นสินสอดมีอยู่ ๓ ประการ คือ
๑. ต้องเป็นทรัพย์สิน เช่น เงิน ทอง และหมายความรวมถึงสิทธิเรียกร้องด้วยตัวทรัพย์สินที่เป็นสินสอดไม่จำต้องมอบให้ในขณะทำสัญญา จะตกลงมอบให้ในภายหลังก็ได้
๒. ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้แกบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง บุคคลนอกจากนี้ไม่มีสิทธิเรียกหรือรับสินสอด
๓. ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส การให้สินสอดจึงเป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่การให้โดยเสน่หา แต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน และทรัพย์ที่เป็นสินสอดนั้นเมื่อได้ส่งมอบไปแล้วย่อมตกเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ฝ่ายหญิงทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อนแต่อย่างใด
เงื่อนไขของการหมั้น
การหมั้นมีเงื่อนไข ๒ ประการ คือ
๑. อายุของคู่หมั้น
๒. ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง


ความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
ในกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นนั้น มาตรา ๑๔๓๖ ได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ว่า ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลต่อไปนี้
๑. บิดาและมารดา
๒. บิดาหรือมารดาเพียงผู้เดียว
๓. ผู้รับบุตรบุญธรรม
๔. ผู้ปกครอง


ลักษณะสำคัญของของหมั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ ๔ ประการ
๑. ต้องเป็นทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์ ทั้งวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ เช่น สิทธิเรียกร้อง ลิขสิทธิ์
๒. ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง ทรัพย์สินที่หญิงให้แก่ฝ่ายชาย ไม่ถือว่าเป็นของหมั้น
๓. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหยิงต้องได้รับไว้แล้ว
๔. ต้องเป้นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้นและต้องให้ไว้ก่อนสมรส


คู่สัญญาที่จะต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น
คู่สัญญาหมั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเฉพาะตัวชายและตัวหญิงคู่หมั้นเท่านั้น กฎหมายใช้คำว่า "ฝ่ายชาย" "ฝ่ายหญิง" จึงเห็นได้ว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองของชายหรือหญิง หรือบุคคลอื่นซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับตัวชายหรือตัวหญิงคู่หมั้นในอันที่จะทำสัญญาหมั้นและจัดการสมรสก็อาจจะเป็นผู้ทำสัญญาหมั้นและเข้ามาเป็นคู่หมั้นได้



๑. ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น ในกรณีที่ชายหญิงทำการหมั้นกันเองโดยมิได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
๒. บิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น ในกรณีที่ผู้ใหญ่ฝ่ายชายและผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงทำสัญญาหมั้นกันโดยชายและหญิงได้ให้ความยินยอมสัญญาหมั้นเกิดขึ้น
๓. บุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น บุคคลอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์กับชาย หรือหยิงคู่หมั่นและจัดการสมรสก็อาจจะเข้ามาเป็นคู่สัญยาหมั้นได

การผิดสัญญาหมั้นและค่าทดแทน
การหมั้นไม่เป็นเหตุฟ้องร้องบังคับให้สมรสได้
การผิดสัญญาหมั้น หมาถึง การที่คู่หมั้นฝ่ายหนึ่งปฎิเสธไม่ยอมทำการสมรสกับคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง ในการหมั้นกันนั้นคู่สัญญาหมั้นอาจตกลงกันว่าจะทำการสมรสกันตามวันเวลาที่กำหนดไว้หรือเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆเกิดขึ้นก็ได้ เว้นแต่คู่สัญญาหมั้นจะได้บอกปฎิเสธไม่ยอมทำการสมรสโดยชัดแจ้งหรือทำให้การสมรสเป็นการพ้นวิสัยโดยได้ทำการสมรสกับบุคคลอื่นแล้ว
เมื่อมีการผิดสัญยญาหมั้น จะต้องมีความรับผิดชดใช้ค่าทดแทนแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๓๙ โดยวางหลักว่าเมื่อมีการหมั้นแล้วฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน แต่จะต้องมีการหมั้นเสียก่อน จึงจะเรียกค่าทดแทนตามมาตรา๑๔๔๐ ได้

marry me

cartoon